Eric Ries เจ้าของแนวคิดแบบ Lean Startup (ลีน สตาร์ทอัพ) เน้นลดความเสี่ยง – ความสูญเสีย เติมความได้เปรียบธุรกิจ สามารถปรับใช้กับองค์กรได้หลากหลายรูปแบบโดยไม่จำกัดว่าเป็นองค์กรยุคใหม่หรือยุคดั้งเดิม ซึ่งหนังสือของเขายังติดอันดับขายดีอีกด้วย ถ้าใครเคยอ่านหนังสือของเขา The Lean Startup คงต้องอยากรู้ว่าเขาชอบอ่านหนังสือประเภทไหนบ้าง
Nudge: Improving Decisions About Health, Wealth, and Happiness
คำว่า "สะกิด" ที่เราจะใช้ตลอดในหนังสือ "สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม" เล่มนี้ หมายถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมในการตัดสินใจให้สามารถชักนำพฤติกรรมของผู้คนไปในทิศทางที่พึงประสงค์ โดยไม่ปิดกั้นทางเลือกใดๆ และไม่ปรับเปลี่ยนแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์แบบหน้ามือเป็นหลังมือ การสะกิดเป็นการแทรกแซงที่ผู้คนสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยง่ายและไม่มีค่าใช้จ่ายมากนัก ที่แน่ ๆ คือการสะกิดไม่ใช่คำสั่ง การวางผลไม้ไว้ในระดับสายตาถือว่าเป็นการสะกิด แต่การห้ามขายอาหารขยะในโรงเรียนนั้นไม่ใช่
Sprint: How to Solve Big Problems and Test New Ideas in Just Five Days เขียนโดย Jake Knapp, John Zeratsky, Braden Kowitz
ปกติเวลาทีมงานหรือบริษัทใดต้องตัดสินใจเลือกทำอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเลือกผลิตสินค้า หรือเลือกจะให้บริการรูปแบบใดก็ตาม เหตุการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้เลยคือการโต้เถียงกันโหวกเหวก ประชุมกันยืดยาวแบบไม่รู้จบ หรือหากจะพูดให้ดีหน่อยก็คือใช้การ Brainstorm หรือระดมความคิด "เจค เนปป์" ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เชื่อว่า วิธีการดังกล่าวไม่ได้ผลที่แท้จริง ที่สำคัญยังใช้เวลานานเกินไปอีกด้วย! วิธีการที่ดีกว่านั้นคือ "Sprint" ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 วัน ก็ฟันธงได้ว่าไอเดียไหนจะดับ หรือไอเดียไหนจะดังโดนใจลูกค้า "Sprint" คือวิธีการตัดสินใจและแก้ปัญหาขององค์กรมากมาย อาทิ Google และบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ ทีมงาน Sprint จะร่วมกันคิดและเลือกไอเดียที่ดีที่สุด จากนั้นจะนำไปสร้างชิ้นงานต้นแบบ แล้วนำไปให้ลูกค้าบางส่วนทดลองใช้ กระบวนการทั้งหมดนี้ฉับไว แม่นยำ และไม่ต้องถกเถียงกันยืดยาวอีกต่อไป
The Asshole Survival Guide: How to Deal with People Who Treat You Like Dirt เขียนโดย Robert I. Sutton
หรือแปลเป็นไทยว่า ไกด์แนะนำการเอาตัวรอดเมื่อต้องอยู่กับคนเหี้ย ถ้ามั่นใจว่าคนรอบกายเหี้ย แล้วควรดีลอย่างไรดี?
Sutton แนะนำว่าก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร ให้ถามตัวเองก่อนว่า
1) เรามีอำนาจมากแค่ไหน และ 2) เรามีเวลา (ที่จะดีลกับคนเหี้ย) มากแค่ไหน
ถ้าเรามีอำนาจมากๆ เรื่องราวก็อาจจะง่ายลง เช่น หากเราเป็นหัวหน้าและพบว่าลูกน้องเหี้ยไม่ไหวแล้ว ก็อาจจะไล่ออกได้ แต่ถ้าไม่มี เขาก็แนะนำว่า ก่อนอื่นอาจจะต้องลองคุยกับคน (ที่สงสัยว่าเป็นคน) เหี้ยดูก่อน ว่าเขารู้ตัวไหม ถ้าปรับปรุงตัวได้หลังจากคุยกันก็ถือว่าดีไป
แต่ถ้าไม่ได้ เขาก็ให้เราตัดสินใจว่า จะสู้ หรือจะช่างแม่ง (ผมเคยเขียนถึงเรื่องการช่างแม่งไว้ในคอลัมน์นี้ก่อนหน้า) ถ้าจะสู้ เราก็ต้องรวบรวมหลักฐาน และพยายามตัดการติดต่อกับคนเหี้ย เพื่อไม่ให้มารบกวนเราให้ได้มากที่สุด ถ้าเรามีแนวร่วมที่เห็นพ้องต้องกันว่าคนคนนี้เหี้ย เราก็อาจจะใช้วิธีการแบนทางสังคมเพื่อลงโทษพวกเขาได้
นอกจากนั้น Sutton ยังมีทิปเทคนิคในการดีลกับคนเหี้ยไว้ด้วยเป็นข้อๆ ดังนี้:
- ให้รู้ตัวให้เร็ว และถ้าออกจากสถานการณ์นั้นได้ ก็ให้หนีออกมา แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องดีลด้วยวิธีอื่น
- ให้รักษาระยะห่างกับคนเหี้ย (ตามตัวอักษร) เขาแนะนำมาเป็นหลักเป็นฐานมากว่าให้รักษาระยะห่างที่ 25 ฟุต (7.6 เมตร) เพราะมีงานวิจัยว่าอารมณ์สามารถติดต่อกันได้ และ Sutton ก็เชื่อว่าความเหี้ยนั้นอาจจะส่งผ่านกันได้เช่นกัน (เช่น เราเจอคนเหี้ยๆ แล้วเราอาจจะหงุดหงิดจนทำตัวเหี้ยกับคนอื่นที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่)
- ให้ลดการติดต่อกับคนเหี้ย เพราะพวกเขาจะชอบเวลาได้เห็นคนเป็นเดือดเป็นร้อน ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ ‘ตอบช้า’ เช่น ตอบอีเมลช้าๆ หรือไม่ต้องตอบข้อความในทันที
- ถ้าเป็นไปได้ อย่าทำตัวโดดเด่น เพราะคนเด่น ๆ มักจะเป็นเป้าหมายของคนเหี้ย หากอยากทำใจ ให้คิดถึงอนาคตเข้าไว้ ว่าอีกปีหนึ่งหรืออีกไม่นาน เรื่องของคนคนนี้ก็จะไม่มากวนใจเราแล้ว
- Sutton แนะนำด้วยว่า ถ้าอยากลอง ก็ลอง “เลีย” คนเหี้ยก็ได้ เพราะคนเหี้ยอาจจะชอบให้คนมาชื่นชมตัวเอง ถ้ารู้สึกว่าใครเป็นพวกตัวเองแล้วก็จะเลิกเหี้ยกับคนคนนั้น อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
- ต่อสู้กลับด้วยวิธีต่างๆ เช่น รวมกลุ่มกันแบน หรือถ้าเหี้ยแบบเป็นกิจลักษณะก็อาจจะต้องร้องเรียนต่อคนที่มีอำนาจ
- อย่าวู่วาม Sutton บอกให้เราใช้เวลาค่อยๆ เก็บหลักฐาน เก็บพรรคพวกให้ดี ก่อนที่คิดจะทำอะไรลงไป เพราะถ้าเราไม่พร้อมในการต่อสู้ เราอาจจะแพ้ก็ได้